Knowledge Corner

ส่วนสูญเสีย และเศษซาก ตามมาตรา 36

ส่วนสูญเสีย และเศษซาก ตามมาตรา 36

  • ส่วนสูญเสีย หมายถึง

1.               วัตถุดิบก่อนที่จะใช้หรือที่เหลือจากการผลิต ที่มีตำหนิ ที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรือที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมได้

2.               เศษวัตถุดิบหรือของที่เกิดขึ้นในขบวนการผลิต

3.               ผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ หรือของที่ผลิตจากวัตถุดิบดังกล่าว ที่มีตำหนิ ที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรือที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมได้

 

  • เศษซาก หมายถึง ส่วนสูญเสียที่ถูกทำลายจนไม่อยู่ในสภาพเดิม


 

ประเภทของส่วนสูญเสีย

      ส่วนสูญเสีย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.               ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
      หมายถึง เศษวัตถุดิบที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าในอัตราที่แน่นอน จึงอนุญาตให้รวมอยู่ในสูตรการผลิตได้ เช่น เศษโลหะที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการปั๊มขึ้นรูปแผ่นโลหะ เป็นต้น 
      ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต จะอนุมัติเฉพาะวัตถุดิบที่นำเข้าโดยมีหน่วยนับเป็น "น้ำหนัก" "ปริมาตร" หรือ "พื้นที่" เท่านั้น 
      แต่ทั้งนี้ เศษวัตถุดิบที่สามารถนำไป Recycle เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น เศษพลาสติก จะไม่อนุญาตให้นำมารวมคำนวณเป็นส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต 
      ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิตจะได้รับการตัดบัญชี เมื่อมีการตัดบัญชีผลิตภัณฑ์จากการส่งออก ดังนั้น จึงไม่ต้องนำมาขอตัดบัญชีอีก 
      ส่วนสูญเสียในสูตรมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องขอชำระภาษีอากรตามส่วนสูญเสียนั้นๆ ก่อน จึงจะจำหน่ายในประเทศได้ 

2.               ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต
      หมายถึง เศษวัตถุดิบที่ไม่สามารถคำนวณล่วงหน้าได้แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นในอัตรามากน้อยเพียงใด จึงไม่อนุญาตให้รวมอยู่ในสูตรการผลิต และจะต้องทำการพิสูจน์ชนิดและปริมาณให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะอนุญาตให้ปรับบัญชีปรับยอดในภายหลัง 
      ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต มีดังนี้

·         วัตถุดิบก่อนการผลิตหรือที่เหลือจากการผลิต ซึ่งมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้

·         สินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต หรือผลิตเสร็จแล้ว แต่ตรวจสอบพบว่ามีคุณภาพหรือมาตรฐานที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมได้ เป็นต้น

·         เศษวัตถุดิบหรือของที่เกิดขึ้นในขบวนการผลิต ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต


ตัวอย่างส่วนสูญเสียนอก / ในสูตรการผลิต

 

 

A : เป็นสินค้าที่ผลิตโดยการปั๊มขึ้นรูปแผ่นโลหะ มีจำนวน 10 ชิ้น (รวมชิ้นที่เป็น NG) น้ำหนักชิ้นละ 500 กรัม รวมเป็น 5,000 กรัม

B : คือ ส่วนที่เหลือจากการปั๊มขึ้นรูปแผ่นโลหะ ซึ่งมีปริมาณที่แน่นอนสามารถคำนวณล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง จัดเป็นส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต มีน้ำหนัก 2,000 กรัม

C : เป็นเศษตัดขอบ หรือเป็นส่วนหัว/ท้ายของม้วนโลหะ มีปริมาณที่ไม่แน่นอน จัดเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต

NG : คือ สินค้าที่ผลิตขึ้นแล้วมีตำหนิ มีปริมาณไม่แน่นอน จัดเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต

สูตรการผลิตของ Model นี้ คือ

=

น้ำหนักสินค้า + น้ำหนักส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต 
จำนวนสินค้า

=

(5,000+2,000) / 10

=

700 กรัม / ชิ้น

 


Wait a moment... it's loading!
Sorry, no more results.